ศาลล้มละลายกลางอนุญาต THAI ขยายเวลาส่งแผนฟื้นฟูถึง 2 มี.ค.64
บมจ.การบินไทย (THAI) แจ้งว่าศาลล้มละลายกลางได้พิจารณาแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการส่งแผนฟื้นฟูกิจการออกไปจนถึงวันที่ 2 มี.ค.64 ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลาครั้งสุดท้ายตามที่กฎหมายกำหนด
โดยหลังจากนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการ ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและแต่งตั้งผู้บริหารแผน และบริษัทฯจะดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการและจะแจ้งให้ทราบถึงความคืบหน้าใดๆในการฟื้นฟูกิจการรวมถึงความคืบหน้าอื่นเพิ่มเติมต่อไป
ทั้งนี้ บริษัทได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ และศาลล้มละลายกลาง
อนึ่ง เมื่อวันที่ 25 ม.ค.64 ผู้ทำแผนได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อขอขยายระยะเวลาการส่งแผนฟื้นฟูกิจการเพิ่มเติมตามมาตรา 90/43 วรรคสอง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) โดยขอขยายระยะเวลาส่งแผนออกไปอีกเป็นเวลา 1 เดือนนับแต่วันครบกำหนดเดิม
เนื่องจากผู้ทำแผนจำเป็นต้องรวบรวมข้อเสนอแนะและความเห็นของเจ้าหนี้กลุ่มต่างๆ ที่มีต่อหลักการของร่างแผนฟื้นฟูกิจการและแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อนำมาพิจารณาปรับปรุงเนื้อหาของร่างแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนต่างๆให้สมบูรณ์และครอบคลุม เพื่อให้เจ้าหนี้ทั้งหลายเห็นพ้องในหลักการของแผนฟื้นฟูกิจการ และเพื่อให้แผนฟื้นฟูกิจการได้รับการเห็นชอบด้วยแผนจากที่ประชุมเจ้าหนี้กลุ่มต่างๆ เพื่อรวบรวมความเห็นดังกล่าวประกอบกับแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท ประกอบด้วยส่วนที่เป็นสาระสำคัญหลายรายการ บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจึงจำเป็นต้องพิเคราะห์พิจารณาอย่างถี่ถ้วนซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเพื่อให้ได้มาซึ่งแผนฟื้นฟูกิจการฉบับสมบูรณ์นั้นจำเป็นต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง
ทั้งนี้ได้มีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัท เมื่อวันที่ 27 พ.ค.63 และศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้บริษัทฯ ดำเนินการฟื้นฟูกิจการและตั้งคณะผู้ทำแผนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 2 ต.ค.63 ซึ่งครบกำหนดระยะเวลา 3 เดือนตามกฎหมายที่ผู้ทำแผนต้องส่งแผนฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ในวันที่ 2 ม.ค.64 ซึ่งผู้ทำแผนได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อขอขยายระยะเวลาการส่งแผนฟื้นฟูกิจการ โดยศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการส่งแผนฟื้นฟูกิจการออกไปจนถึงวันที่ 2 ก.พ.64 ufa
บริบทองค์กร (Company Profile)
ประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เกินกว่าร้อยละ 50
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจสายการบินที่ให้การบริการขนส่งผู้โดยสาร สินค้า พัสดุภัณฑ์ และไปรษณียภัณฑ์ โดยทำการขนส่งเชื่อมโยงเมืองหลักของ
ประเทศไทยไปยังเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งแบบเที่ยวบินประจำ เที่ยวบินเช่าเหมาลำ และส่งผ่านเครือข่ายพันธมิตรการบิน โดยมีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เป็นศูนย์กลางเครือข่ายเส้นทางการบิน
นอกจากธุรกิจสายการบินซึ่งเป็นธุรกิจหลักแล้ว บริษัทฯยังมีการดำเนินกิจการที่เกี่ยวเนื่องและสนับสนุนการขนส่งทางอากาศ ทั้งลักษณะเป็น
หน่วยธุรกิจและกิจการร่วมทุน ประกอบด้วย
- การให้บริการผู้โดยสาร สินค้า และเตรียมพร้อมอากาศยานทั้งก่อนและหลังเดินทาง
- การให้บริการอาหารเครื่องดื่มระหว่างการเดินทาง
- การให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยาน
- การให้บริการด้านการอำนวยการบิน
- การจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีบนเครื่องบิน และการจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
- การให้บริการด้านการท่องเที่ยว และสนับสนุนการท่องเที่ยว
- การให้บริการด้านการฝึกอบรมบุคลากรด้านการให้บริการการบิน (ร่วมทุน)
- การให้บริการด้านการจัดหาแรงงาน (ร่วมทุน)
- การให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยาน (ร่วมทุน)
- การให้บริการระบบจำหน่ายและสำรองที่นั่ง (ร่วมทุน)
วิสัยทัศน์ พันธกิจ และคุณค่าหลัก วิสัยทัศน์
สายการบินแห่งชาติประกอบธุรกิจการเดินอากาศขนส่งผู้โดยสารสินค้าพัสดุภัณฑ์และไปรษณียภัณฑ์การบินไทยมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นสายการบินที่คน
ไทยภาคภูมิใจจากการให้บริการระดับโลกตามมาตรฐานสากลผสมผสานด้วยเสน่ห์ความเป็นไทย สร้างความประทับใจและพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้าจากการ
บริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและสร้างกำไรที่ยั่งยืน
พันธกิจ
- ให้บริการขนส่งทางอากาศอย่างครบวงจรทั้งภายในและระหว่างประเทศ โดยมุ่งเน้นในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย ความสะดวกสบาย การบริการที่มีคุณภาพด้วยเอกลักษณ์ความเป็นไทย เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและความน่าเชื่อถือสูง รวมทั้งเสริมสร้างความประทับใจและความสัมพันธ์ที่ดีกับ ลูกค้า
- มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่องค์กรและสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่สูงให้แก่ ผู้ถือหุ้น
- เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่สร้างความแข็งแกร่งให้กับ พนักงาน เพื่อให้ทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ ตระหนักถึงการให้ความสำคัญแก่ลูกค้าเสริมสร้างขีดความสามารถ ทักษะ และความรับผิดชอบ ตลอดจนเพิ่มพูนความผูกพันต่อองค์กร
- ช่วยเหลือ ส่งเสริม และแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในฐานะเป็นสายการบินแห่งชาติ
ทั้งนี้ต้องดำเนินการภายใต้การ กำกับดูแลกิจการที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาล
คุณค่าหลัก (Core Values)
ส่งเสริมและยึดมั่นในคุณค่าหลักสำคัญ 3 ประการ ได้แก่
- มุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า(Customer Satisfaction) เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าโดย
นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ - ให้การบริการระดับโลก (World Class Services) เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นการให้บริการที่เป็นเลิศ สม่ำเสมอ และเป็นไปตามมาตรฐาน
- สร้างคุณค่าในทุกมิติ (Value Creation) เป็นองค์กรที่ส่งเสริมให้พนักงานสร้างคุณค่าจากการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
พร้อมส่งมอบคุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการในทุกมิติอย่างยั่งยืน
โครงสร้างการกำกับดูแล
- คณะกรรมการบริษัทฯ
- ฝ่ายบริหารบริษัทฯ
และแผนงานของบริษัทฯ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการย่อยชุดต่าง ๆ เพื่อช่วยศึกษารายละเอียดและกลั่นกรองงานเฉพาะเรื่อง และเพื่อให้เป็นไปตามหลักการ
กำกับดูแลกิจการที่ดี ประกอบด้วย
– คณะกรรมการตรวจสอบ
– กรรมการอิสระ
– คณะกรรมการธรรมาภิบาล
– คณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทน และพัฒนาบุคลากร
– คณะกรรมการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม
– คณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่
– คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
– คณะกรรมการบริหาร
– คณะกรรมการด้านกฎหมาย ฝ่ายบริหารบริษัทฯ
ตรงไปยังกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ได้แก่
- ธุรกิจการบิน เป็นธุรกิจหลักที่ให้บริการขนส่งผู้โดยสาร สินค้า ประกอบด้วย 5 สายงานหลัก ได้แก่
– สายการพาณิชย์
– สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ
– สายการเงินและการบัญชี
– สายทรัพยากรบุคคลและกำกับกิจกรรมองค์กร
– สายผลิตภัณฑ์และบริการลูกค้า และ 2 ฝ่ายปฏิบัติการ ได้แก่ สายปฏิบัติการ และฝ่ายช่าง - กลุ่มธุรกิจสนับสนุนการบิน บริหารงานในลักษณะหน่วยธุรกิจ ประกอบด้วย 4 หน่วยธุรกิจ ได้แก่
– ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์
– ฝ่ายครัวการบิน
– หน่วยธุรกิจการบินไทยสมายล์
– หน่วยธุรกิจการบริการภาคพื้น